เด็กจบใหม่ อ้างอิงประสบการณ์ของยังไงให้ได้งาน?

  • 30 พ.ค. 2567
  • 4206
ประสบการณ์เด็กจบใหม่ วิธีสร้างประสบการณ์เด็กจบใหม่ ประสบการณ์ที่ดีสำหรับเด็กจบใหม่ ตัวอย่างประสบการณ์เด็กจบใหม่

ในปัจจุบันมีผู้สมัครเข้าทำงานค่อนข้างที่จะเยอะในแต่ละวัน นั่นทำให้ HR ต้องคัดเลือกคนที่ดีสุดและสามารถตอบโจทย์ให้กับบริษัทได้ ซึ่งในใบสมัครงานของหลาย ๆ บริษัทจะมีช่องให้ผู้สมัครกรอกชื่อบุคคลอ้างอิงกันเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ซึ่งเด็กจบใหม่หลายคนไม่ให้ความสำคัญเท่าไหร่ทั้ง ๆ ที่การอ้างอิงมีความสำคัญมากต่อกระบวนการคัดสรรพนักงาน และการจ้างงานโดยตรง โดยเฉพาะฝ่าย HR ที่จะต้องรู้ข้อมูลเพื่อจะได้ทราบศักยภาพของเด็กจบใหม่ ที่ไม่มีประสบการณ์ สิ่งนั้นก็ คือ การเพิ่มส่วนของประสบการณ์ทั้งหมดที่ผ่านมา ซึ่งในวันนี้ทาง JOBBKK จะมาบอกเทคนิคการเขียนประสบการณ์ยังไงให้ได้งานสำหรับ เด็กจบใหม่!

 

 

 

วิธีสร้างประสบการณ์เด็กจบใหม่

ก่อนอื่นเด็กจบใหม่จะต้องหาข้อมูลและทราบเกี่ยวกับตำแหน่งงานที่สมัครว่าหน้าที่ในการทำงานเป็นอย่างไร ทำอะไรบ้างและต้องการคนแบบไหน ซึ่งปกติแล้วผู้ประกาศจะเขียนติดไว้ แต่คนส่วนใหญ่ไม่อ่านหรืออ่านไม่ละเอียด โดยการจะเขียนประสบการณ์จะต้องชูความสามารถที่มีให้ตรงกับตำแหน่งงานที่สมัครรวมถึงรู้จักการนำข้อดีหรือทักษะที่จำเป็นในการทำงานมาประกอบในใบสมัคร

       ความสามารถที่โดดเด่น

นอกจากประสบการณ์แล้วเด็กจบใหม่ยังควรแสดงความสามารถที่โดดเด่นในใบสมัครด้วย เช่น มีทักษะด้านการสื่อสาร ภาษาต่างประเทศ คอมพิวเตอร์ ความคิดสร้างสรรค์ หรือการแก้ปัญหา สิ่งนี้จะช่วยให้เด็กจบใหม่โดดเด่นและแตกต่างจากผู้สมัครคนอื่น  

       ส่วนของทักษะและจุดแข็ง

ในการเขียนใบสมัครเด็กจบใหม่อย่าลืมเน้นจุดแข็งและทักษะของด้วย เช่น การทำงานเป็นทีม หรือสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เร็ว ทักษะนี้จะช่วยแสดงให้นายจ้างเห็นว่าเรานั้นมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นไหม

ประสบการณ์เด็กจบใหม่

เทคนิคการเขียนประสบการณ์ที่ดีนั้นต้องเด็กจบใหม่ควรใส่ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่เราสมัคร โดยจะต้องใส่ประสบการณ์ที่สามารถใช้ได้จริงเกี่ยวกับงานนั้น ๆ ไว้เป็นข้อแรก ๆ แล้วค่อยเรียงประสบการณ์ที่สำคัญน้อยลงมา ตัวอย่างประสบการณ์ที่สามารถนำมาใส่ในเรซูเม่ได้ก็อย่างเช่น กิจกรรมภายในมหาวิทยาลัย การทำงานพิเศษ เป็นต้น 

  • แนะนำให้อ่านรายละเอียดว่าเขาให้ทำอะไร โดยก่อนอื่นผู้สมัครต้องดูก่อนว่าตำแหน่งที่สมัครนั้นต้องการดูต้องการคนแบบไหน ซึ่งการเขียนประสบการณ์จะต้องเขียนในส่วนที่เราคิดว่ามีส่วนส่งเสริมกับตำแหน่งงานเป็นข้อตั้งต้น นำประสบการณ์จริงไว้ด้านบนก่อนเพราะ HR ก็จะเน้นอ่านในส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงาน เช่น ประสบการณ์การทำงานโดยตรงของผู้สมัครนั้นตรงต่อความต้องของตำแหน่งที่เปิดรับหรือไม่จัดลำดับประสบการณ์ นอกจากประสบการณ์ที่กล่าวมาแล้วก็มีอีก 2 อย่างที่สามารถนำมาใส่ใน    เรซูเม่ได้เช่นกัน

1. ประสบการณ์การฝึกงาน

ในส่วนของประสบการณ์ของเด็กจบใหม่ให้เขียนอธิบายเป็นลำดับข้อว่าประสบการณ์ในการฝึกงานนั้นได้ทำอะไรมาบ้าง หรืออีกรูปแบบจะแนะนำให้เขียนว่าได้ฝึกงานที่ฝ่ายไหน ตำแหน่งอะไร โดยไม่จำเป็นต้องระบุลักษณะงานหรือสิ่งที่ทำ ถึงแม้ว่าบางคนอาจจะไม่ได้ฝึกงานตรงกับสายที่เรียน แต่การฝึกงานจะทำให้เราได้ประสบการณ์ต่าง ๆ รวมถึงความอดทน และการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการมักตามหา

 

(สำหรับคนที่มีประสบการณ์ทำงานมาก่อน ) อาจระบุหัวหน้าจากที่ทำงานเก่า หรือหัวหน้าฝ่าย ทรัพยากรบุคคล ที่ทำงานเก่าเป็นบุคคลอ้างอิงได้ แต่สำหรับนิสิต นักศึกษาที่เพิ่งเรียนจบใหม่ และยังไม่มีประสบการณ์ทำงาน เมื่อสมัครงานที่แรกจำเป็นต้องมีบุคคลอ้างอิงเพื่อใช้ในการสมัครงาน สามารถใช้รายชื่อของบุคคลเหล่านี้ในการอ้างอิงได้

 

(สำหรับคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์การทำงานมาก่อน) โดยเฉพาะเด็กจบใหม่ คุณสามารถติดต่อให้อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ประจำภาควิชา หรืออาจารย์ที่มีตำแหน่งในมหาวิทยาลัยมาเป็น Reference ในการอ้างอิงการสมัครงานของคุณได้ แต่ควรเลือกติดต่ออาจารย์ที่คุ้นเคยกับคุณ และสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวคุณได้หรือในช่วงที่กำลังจบการศึกษา หรืออีกตัวเลือก คือ เพื่อนในชั้นเรียนเพราะในการเรียนจะมีการทำโปรเจกต์เพื่อให้จบการศึกษา การให้เพื่อนที่ทำโปรเจกต์ร่วมกับคุณเป็น Reference ในการสมัครงานได้ แต่ทั้งนี้คุณต้องมั่นใจในตัวเองด้วยว่าคุณสามารถรับผิดชอบงานในส่วนของคุณได้ดีเช่นกัน 

บุคคลอ้างอิงควรมีความหลากหลาย ไม่ควรใช้บุคคลอ้างอิงจากองค์กรเดียวกันเกิน 2 ราย ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าบริษัทที่สมัครงาน ต้องการบุคคลอ้างอิง 3 คน เราอาจให้ 2 คนแรกเป็นอาจารย์ที่เรารู้จัก ส่วนคนที่ 3 เป็นหัวหน้าที่เราเคยฝึกงานด้วย เป็นต้น หรือใช้ประสบการณ์เป็นการอ้างอิงก็ได้ 

 

2. ผลงานและความสำเร็จ

โดยผลงานจะเป็นส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนหรือไม่เกี่ยวข้องก็ได้ แต่อาจจะเป็นผลงานและความสำเร็จในระดับมหาลัย เช่น ได้รับเลือกเป็นประธานสาขา, เหรัญญิก, กรรมการสโมสรนักศึกษา, การขายของออนไลน์, การทำธุรกิจส่วนตัว ซึ่งหากถ้าคุณมีสิ่งเหล่านี้ก็อาจจะทำให้เขามองว่าคุณเป็นเด็กจบใหม่ที่มีความเป็นผู้นำ และมีความกระตือรือร้นในการทำงาน ซึ่งนั่นจะเป็นสิ่งที่ดีกับตัวคุณเองและบริษัท ซึ่งแนะนำให้เขียนเพิ่มในเรซูเม่ได้เช่นกัน

 

สำคัญมากที่สุด ผู้สมัครต้องดูตำแหน่งงานที่สมัครและอ่านประกาศงานให้ละเอียดทุกบรรทัดว่าทางบริษัทต้องการคนมีทักษะใด (Hard Skill) ต้องการคนแบบไหน (Soft Skill) แล้วนำประสบการณ์ที่มี และสอดคล้องกับคุณสมบัติที่ทางบริษัทต้องการมาเขียนไว้ในด้านบน ถ้าผู้ประกอบการเห็นคุณสมบัติที่ตรงตั้งแต่ข้อแรก ๆ ก็จะเพิ่มโอกาสในการพิจารณาเรซูเม่ต่อจนจบและอยากสัมภาษณ์ด้วย

JOBBKK จึงขอแนะนำว่าหากคุณอยากมีตัวเลือกที่เยอะกว่าคนอื่น หรืออยากได้โอกาสที่มากกว่าคนอื่น การทำกิจกรรมในมหาลัยก็เป็นตัวเลือกที่ดี อีกทั้งยังจะเป็นสิ่งที่ทำให้คุณได้สั่งสมประสบการณ์และยังทำให้มีคุณทักษะในการทำงานที่ดีไป ๆ พร้อมกันนั่นเองค่ะ

หางานตามสาขาอาชีพ

JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved

jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด DBD

Top